วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รายงานคะแนนเก็บทั้งหมด(ทำที่blogนักเรียน)

คะแนนเก็บทั้งหมด 1,539 คะแนน ข้าพเจ้าทำได้1110คะแนน
และมีจำนวนลายเซ็นต์/Stampชื่อครู4ครั้ง












วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อสอบพร้อมเฉลย5ข้อ

1.ถ้าปล่อยก้อนหินให้ตกลงไปก้อนหินจะมีลักษณะการเคลื่อนที่แบบใดถ้าไม่คิดแรง ต้านอากาศ
ก.ความเร่งคงที่
ข.ยังสรุปแน่นอนไมได้
ค.ความเร็วคงที่
ค.ความหน่วงคงที่
เฉลยข้อ ก.
2.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.ความเร่งของวัตถุมีค่าบวกเสมอ
ข.ความเร่งมีค่าเป็นบวกเพราะความเร็วเพิ่มขึ้น
ค.ความเร่งมีค่าป็นลบเพราะความเร็วลดลง
ง.ความเร่งที่มีค่าเป็นลบเรียกว่าความหน่วง
เฉลยตอบข้อก
3.รถยนต์กำลังวิ่งด้วยอัตราเร็ว72กิโลเมตร/ชั่วโมงจงหาว่ารถยนต์จะวิ่งด้วยอัตราเร็วกี่เมตร/วินาที
ก.15m/s
ข.20m/s
ค.18m/s
ง.12m/s
เฉลยตอบข้อ2
4.ข้อใดเป็นตัวอย่างของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
ก.ชูตลูกบาสเกตบอล
ข.ปล่อยลูกบอลจากตึกสูง
ค.นั่งรถๆฟเหาะตีลังกา
ง.เล่นชิงช้า
เฉลยตอบข้อก.
5.ลูกตุ้มนาฬิกาจัดเป็นการเคลื่อนที่แบบใด
ก.การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง
ข.การเคลื่อนที่แบบวงกลม
ค.การเคลื่อนที่แบบฮาร์มินิกอย่างง่าย
ง.การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
เฉลยตอบข้อค.

ส่งงานทั้งหมดมมีรายชื่อดังนี้

กิจกรรมวันที่17พฤศจิกายน2553 ปริมาณงาน100%
กิจกรรมวันที่10พฤศจิกายน2553 ปริมาณงาน100%
กิจกรรมวันที่25พฤศจิกายน2553ปริมาณงาน100%
กิจกรรมวันที่13-17ธันวาคม2553ปริมาณงาน100%อยู่ในสมุด
กิจกรรมวันที่20-24ธันวาคม2553ปริมาณงาน70%อยุ่ในสมุด
กิจกรรมวันที่4-7มกราคม2554ปริมาณงาน60%อยุ่ในสมุด(17ข้อ)
กิจกรรมวันที่10-14มกราคม2554ปริมาณงาน40%อยู่ในสมุด
กิจกรรมวันที่17-21มกราคม2554ปริมาณงาน90%
กิจกรรมวันที่24-28มกราคม2554ปริมาณงาน100%
ปัญหา
1.งานที่ลงในสมุดเวลาไม่พอในการทำงาน
2.งานที่ให้สืบค้นในเน็ตนั้นบางเครื่องไม่มีตามที่เราหา

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554



คำอธิบาย

สูตร
ระยะ ทาง ; ระยะทาง = ความเร็ว × เวลา ; เวลา = ระยะทาง /ความเร็ว

ความ เร็ว (Speed : S) หมายถึง การเคลื่อนทที่ของวัตถุ คน หรือสิ่งของจากจุดหนึ่งไปยัง
อีกจุดหนึ่งภายในหนึ่งหน่วยเวลา

ตอบข้อ 4. 25 s

ที่มา http://202.143.132.9/mat-sci/Matt/1.1%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82%20_1%E0%B8%95%E0%B8%84.pdf















คำอธิบาย

1. คาบ (T) ของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย คือ เวลาที่เคลื่อนที่ครบ 1 รอบ หน่วยวัดเป็น วินาที

2. ความถี่ (f) ของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย คือ จำนวนรอบที่เคลื่อนที่ใน 1 วินาที

3. อัตราเร็วเชิงมุม หรืออาจเรียกว่าความถี่เชิงมุม v = 2pf = เรเดียนต่อวินาที

อย่างไรก็ตามในการอธิบายการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิ กอย่างง่ายมักอธิบายเกี่ยวกับการกระจัด ความเร็วและความเร่งเหมือนการเคลื่อนที่แบบอื่นๆที่นักเรียนได้เรียนมาแล้ว

การ เคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายตามแนวระดับรอบจุดคงตัว O

4. การกระจัด ของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย คือ การวัดระยะการย้ายตำแหน่งของวัตถุเมื่อเทียบกับจุดคงตัว O และการกระจัดสูงสุดคือแอมพลิจูดของการเคลื่อนที่

ตามรูป x คือ การกระจัดของการเคลื่อนที่ ณ เวลาหนึ่ง

x = A sin vt

เมื่อ A คือ การกระจัดสูงสุดหรือแอมพลิจูดของการเคลื่อนที่

vt คือ มุมเฟส ณ เวลา t

5. ความเร็ว ของการเคลื่อนที่ v = Av cos vt ความเร็วมีทิศเดียวกับทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุ ณ เวลานั้น


ตอบข้อ 1. T2 เป็นปฏิกิริยาโดยตรงกับ l

ที่มา http://www.thaiblogonline.com/wongasa.blog?PostID=12877











คำอธิบาย
ประจุไฟฟ้าและสนามไฟฟ้า

1) ปริมาณพื้นฐานในไฟฟ้าสถิตคือประจุไฟฟ้า ประจุไฟฟ้ามีสองชนิด คือประจุบวกและลบ ประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันผลักซึ่งกันและกัน ประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันดูดกันประจุไฟฟ้าเป็นปริมาณคงตัว ประจุไฟฟ้าสุทธิในระบบโดดเดี่ยวมีค่าคงตัวเสมอ
2) สสารธรรมดาทั้งหมดประกอบด้วยโปรตอน นิวตรอน อิเล็กตรอน ประจุโปรตอนที่เป็นบวกและนิวตรอนที่เป็นกลางทางไฟฟ้าในนิวเคลียสของอะตอมยึด อยู่ด้วยกันด้วยแรงนิวเคลียส อิเล็กตรอนที่เป็นลบอยู่รอบนิวเคลียสที่ระยะห่างมากกว่าขนาดของนิวเคลียสมาก อันตรกิริยาไฟฟ้าเป็นอันตรกิริยาหลักของโครงสร้างอะตอม โมเลกุล และของแข็ง
3) ตัวนำไฟฟ้าเป็นวัสดุที่ยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ภายในเนื้อวัสดุได้ง่าย ฉนวนไฟฟ้ายอมให้ประจุเคลื่อนที่ได้น้อยกว่ามาก โลหะส่วนใหญ่เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี วัสดุที่ไม่ใช่โลหะส่วนใหญ่เป็นฉนวนไฟฟ้า
4) กฎของคูลอมบ์เป็นกฎพื้นฐานของอันตรกิริยาสำหรับจุดประจุไฟฟ้า สำหรับประจุq1และq2ที่อยู่ห่างกันเป็นระยะrขนาดของแรงที่กระทำต่อแต่ละประจุ แรงที่กระทำต่อแต่ละประจุมีทิศอยู่ในแนวเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างประจุทั้ง สอง แรงนี้เป็นแรงผลักถ้า q1และq2 มีเครื่องหมายเดียวกัน แรงนี้เป็นแรงดูดถ้าประจุทั้งสองมีเครื่องหมายต่างกัน แรงทั้งสองเป็นแรงคู่ปฏิกิริยา และมีสมบัติตามกฎข้อที่สามของนิวตันในระบบ SI หน่วยของประจุไฟฟ้า
5) หลักการซ้อนทับของแรงกล่าวว่า เมื่อประจุสองประจุหรือมากกว่าต่างออกแรงกระทำต่อประจุอื่นประจุหนึ่ง แรงสุทธิที่กระทำต่อประจุนั้นมีค่าเท่ากับผลบวกของเวกเตอร์ของแรงที่กระทำใน แต่ละประจุกระทำ
6) สนามไฟฟ้าเป็นบริเวณเวกเตอร์ทีค่าเท่ากับแรงต่อหนึ่งหน่วยที่ประจุกระทำต่อ ประจุทดสอบที่วางไว้ ณ จุดใด ๆ ทั้งนี้ประจุทดสอบนั้นต้องมีขนาดเล็กพอที่จะไม่รบกวนประจุที่ทำให้เกิดสนาม ไฟฟ้านั้น จากฎของคูลอมบ์ สนามไฟฟ้าที่เกิดจากประจุนั้นคือ
7) หลักการซ้อนทับของสนามไฟฟ้ากล่าวว่า สนามไฟฟ้าของกลุ่มประจุไฟฟ้าใดมีค่าเท่ากับผลบวกของเวกเตอร์ของสนามไฟฟ้าที่ เกิดจากแต่ละประจุ ในการคำนวณสนามไฟฟ้าที่เกิดจากการกระจายประจุอย่างสม่ำเสมอ ให้แบ่งการกระจายประจุออกเป็นชิ้นๆ คำนวณสนามที่เกิดจากแต่ละชิ้นเล็กๆเหล่านั้น แล้วหาผลบวกของเวกเตอร์ของสนาม หรือหาผลบวกของแต่ละองค์ประกอบ ซึ่งมักใช้วิธีการอินทิเกรต เราใช้ความหนาแน่นประจุเชิงเส้น l ความหนาแน่นประจุต่อพื้นที่ o และความหนาแน่นประจุต่อปริมาตร p บรรยายการกระจายประจุ
8) เส้นสนามเป็นสิ่งที่แทนสนามไฟฟ้าด้วยภาพ ที่จุดใดๆบนเส้นสนามเส้นหนึ่ง เส้นสัมผัสกับสันสนามมีทิศทางเดียวกับสนามไฟฟ้า e ที่จุดใดนั้น บริเวณที่เส้นสนามอยู่ใกล้กันeมีค่าสูงกว่า บริเวณที่สนามอยู่ห่างกัน e มีค่าน้อยกว่า
9) ขั้วคู่ไฟฟ้าคือคู่ของประจุไฟฟ้าที่มีประจุไฟฟ้า q เท่ากัน แต่มีเครื่องหมายอยู่ตรงกันข้าม อยู่ห่างกันเป็นระยะ d นิยามโมเมนต์ขั้วคู่ไฟฟ้า p ให้มีขนาด p = qd ทิศทางของ p ชี้จากประจุลบเข้าหาประจุบวก ขั้วคู่ไฟฟ้าที่อยู่ในสนามไฟฟ้าจะมีทอร์กระทำต่อมันด้วยขนาด
โดยที่ o คือมุมระหว่างทิศของ p และ e ทอร์เวกเตอร์ t
10)พลังงานศักย์สำหรับขั้ว คู่ไฟฟ้าที่อยู่ในสนามไฟฟ้า e มีค่าขึ้นอยู่กับการวางตัวของโมเมนต์ขั้วคู่ไฟฟ้า p เทียบกับสนามไฟฟ้า

ตอบข้อ 4. สนามไฟฟ้าที่ A มีค่าเท่ากับสนามไฟฟ้าที่ B

ที่มา http://phlecture.tripod.com/CU/ele.htm












คำอธิบาย
ความ ถี่ (อังกฤษ: frequency) คือปริมาณที่บ่งบอกจำนวนครั้งที่เหตุการณ์เกิดขึ้นในเวลาหนึ่ง การวัดความถี่สามารถทำได้โดยกำหนดช่วงเวลาคงที่ค่าหนึ่ง นับจำนวนครั้งที่เหตุการณ์เกิดขึ้น นำจำนวนครั้งหารด้วยระยะเวลา และ คาบ เป็นส่วนกลับของความถี่ หมายถึงเวลาที่ใช้ไปในการเคลื่อนที่ครบหนึ่งรอบ

ใน ระบบหน่วย SI หน่วยวัดความถี่คือเฮิรตซ์ (hertz) ซึ่งมาจากชื่อของนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ Heinrich Rudolf Hertz เหตุการณ์ที่มีความถี่หนึ่งเฮิรตซ์หมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหนึ่งครั้ง ทุกหนึ่งวินาที หน่วยอื่นๆ ที่นิยมใช้กับความถี่ได้แก่: รอบต่อวินาที หรือ รอบต่อนาที (rpm) (revolutions per minute) อัตราการเต้นของหัวใจใช้หน่วยวัดเป็นจำนวนครั้งต่อนาที

อีกหนึ่งวิธี ที่ใช้วัดความถี่ของเหตุการณ์คือ การวัดระยะเวลาระหว่างการเกิดขึ้นแต่ละครั้ง (คาบ) ของเหตุการณ์นั้นๆ และคำนวณความถี่จากส่วนกลับของคาบเวลา:


เมื่อ T คือคาบ

[แก้] ความถี่ของคลื่น
สำหรับคลื่นเสียง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่นคลื่นวิทยุหรือแสง) สัญญาณไฟฟ้า หรือคลื่นอื่นๆ ความถี่ในหน่วยเฮิรตซ์ของคลื่นนั้นคือจำนวนรอบที่คลื่นนั้นซำรอยเดิมในหนึ่ง วินาที สำหรับคลื่นเสียง ความถี่คือปริมาณที่บ่งบอกความทุ้มแหลม

ความ ถี่ของคลื่นมีความสัมพันธ์กับความยาวคลื่น กล่าวคือความถี่ f มีค่าเท่ากับความเร็ว v ของคลื่นหารด้วยความยาวคลื่น λ (lambda) :


ใน กรณีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เดินทางในสุญญากาศ ความเร็วด้านบนก็คือความเร็วแสง และสมการด้านบนก็เขียนใหม่ได้เป็น:


หมาย เหตุ: เมื่อคลื่นเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง ความถี่ของคลื่นจะยังคงที่อยู่ ในขณะที่ความยาวคลื่นและความเร็วเปลี่ยนไปตามตัวกลาง

ตอบข้อ 1. 2.5 Hz
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B9%88








คำอธิบาย
อัตรา เร็ว (สัญลักษณ์: v) คืออัตราของ การเคลื่อนที่ หรือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งก็ได้ หลายครั้งมักเขียนในรูป ระยะทาง d ที่เคลื่อนที่ไปต่อ หน่วย ของ เวลา t

อัตราเร็ว เป็นปริมาณสเกลาร์ที่มีมิติเป็นระยะทาง/เวลา ปริมาณเวกเตอร์ที่เทียบเท่ากับอัตราเร็วคือความเร็ว อัตราเร็ววัดในหน่วยเชิงกายภาพเดียวกับความเร็ว แต่อัตราเร็วไม่มีองค์ประกอบของทิศทางแบบที่ความเร็วมี อัตราเร็วจึงเป็นองค์ประกอบส่วนที่เป็นขนาดของความเร็ว

ในรูป สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ อัตราเร็วคือ


หน่วยของอัตราเร็ว ได้แก่

เมตร ต่อวินาที, (สัญลักษณ์ m/s) , ระบบหน่วย SI
กิโลเมตรต่อชั่วโมง, (สัญลักษณ์ km/h)
ไมล์ต่อชั่วโมง, (สัญลักษณ์ mph)
นอต (ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง, สัญลักษณ์ kt)
มัค เมื่อมัค 1 เท่ากับ อัตราเร็วเสียง มัค n เท่ากับ n เท่าของอัตราเร็วเสียง
มัค 1 ≈ 343 m/s ≈ 1235 km/h ≈ 768 mi/h (ดู อัตราเร็วเสียง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม)
อัตรา เร็วแสง ใน สุญญากาศ (สัญลักษณ์ c) เป็นหนึ่งใน หน่วยธรรมชาติ
c = 299,792,458 m/s
การเปลี่ยนหน่วยที่สำคัญ
1 m/s = 3.6 km/h
1 mph = 1.609 km/h
1 knot = 1.852 km/h = 0.514 m/s
ยานพาหนะต่าง ๆ มักมี speedometer สำหรับวัดอัตราเร็ว

วัตถุที่เคลื่อนที่ไปตามแนวราบ พร้อม ๆ กับแนวดิ่ง (เช่น อากาศยาน) จะแยกประเภทเป็น forward speed กับ climbing speed

ตอบข้อ 2. ความยาวคลื่นในน้ำลึกมากกว่าความยาวคลื่นในน้ำตื้น

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7











คำอธิบาย
อัตรา เร็ว (สัญลักษณ์: v) คืออัตราของ การเคลื่อนที่ หรือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งก็ได้ หลายครั้งมักเขียนในรูป ระยะทาง d ที่เคลื่อนที่ไปต่อ หน่วย ของ เวลา t

อัตราเร็ว เป็นปริมาณสเกลาร์ที่มีมิติเป็นระยะทาง/เวลา ปริมาณเวกเตอร์ที่เทียบเท่ากับอัตราเร็วคือความเร็ว อัตราเร็ววัดในหน่วยเชิงกายภาพเดียวกับความเร็ว แต่อัตราเร็วไม่มีองค์ประกอบของทิศทางแบบที่ความเร็วมี อัตราเร็วจึงเป็นองค์ประกอบส่วนที่เป็นขนาดของความเร็ว

ตอบข้อ 3. 4.0 m/s

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7









คำ อธิบาย

การกระจัด หรือการขจัด ในทางฟิสิกส์ หมายถึงระยะห่างของการเคลื่อนที่จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสุดท้ายโดยจะมี ลักษณะเป็นเส้นตรง ซึ่งจะเป็นระยะทางที่สั้นที่สุดระหว่างจุดสองจุดใด ๆ ในขณะที่เราเคลื่อนที่ เราจะเปลี่ยนตำแหน่งที่อยู่ตลอดแนว เช่น ขณะเราขับรถยนต์ไปตามท้องถนน เราจะเคลื่อนที่ผ่านถนน ถนนอาจเป็นทางตรง ทางโค้ง หรือหักเป็นมุมฉาก ระยะทางที่รถเคลื่อนที่อาจเป็นระยะทางตามตัวเลขที่ราบของการเคลื่อนที่ แต่หากบางครั้งเราจะพบว่า จุดปลายทางที่เราเดินทางห่างจากจุดต้นทางในแนวเส้นตรง หรือในแนวสายตาไม่มากนัก

ระยะทาง (distance) คือ ความยาวตามเส้นทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ทั้งหมด เป็นปริมาณสเกลาร์ คือ มีแต่ขนาดอย่างเดียว มีหน่วยเป็นเมตร โดยทั่วไปเราใช้สัญลักษณ์ S

การ กระจัด (displacement) คือ เส้นตรงที่เชื่อมโยงระหว่างจุดเริ่มต้น และจุดสุดท้ายของการเคลื่อนที่เป็นปริมาณเวกเตอร์ คือ ต้องคำนึงถึงทิศทางด้วย มีหน่วยเป็นเมตร โดยทั่วไปเขียนแบบเว็กเตอร์เป็น S

ตอบข้อ 2. 65 km

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94








คำอธิบาย
อัตราเร็ว (สัญลักษณ์: v) คืออัตราของ การเคลื่อนที่ หรือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งก็ได้ หลายครั้งมักเขียนในรูป ระยะทาง d ที่เคลื่อนที่ไปต่อ หน่วย ของ เวลา t

อัตรา เร็ว เป็นปริมาณสเกลาร์ที่มีมิติเป็นระยะทาง/เวลา ปริมาณเวกเตอร์ที่เทียบเท่ากับอัตราเร็วคือความเร็ว อัตราเร็ววัดในหน่วยเชิงกายภาพเดียวกับความเร็ว แต่อัตราเร็วไม่มีองค์ประกอบของทิศทางแบบที่ความเร็วมี อัตราเร็วจึงเป็นองค์ประกอบส่วนที่เป็นขนาดของความเร็ว

ตอบข้อ 3. 08.30 น.

ที่มา http://www.dekying.com/women405.htm










คำอธิบาย
ประจุ ไฟฟ้า เป็นคุณสมบัติพื้นฐานถาวรหนึ่งของอนุภาคซึ่งเล็กกว่าอะตอม (subatomic particle) เป็นคุณสมบัติที่กำหนดปฏิกิริยาแม่เหล็กไฟฟ้า สสารที่มีประจุไฟฟ้านั้นจะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ในขณะเดียวกันก็จะได้รับผลกระทบจากสนามด้วยเช่นกัน ปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างประจุ และ สนาม เป็นหนึ่งในสี่ ของแรงพื้นฐาน เรียกว่า แรงแม่เหล็กไฟฟ้า

ตอบ ข้อ 3. A และ B มีประจุบวก แต่ C มีประจุลบ

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2







คำอธิบาย
การ เคลื่อนที่ (อังกฤษ: motion) คือ การเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งวัดโดยผู้สังเกตที่เป็นส่วนหนึ่งของกรอบอ้างอิง เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เซอร์ไอแซก นิวตัน ได้เสนอกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันในหนังสือ Principia ของเขา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกฎพื้นฐานของฟิสิกส์ดั้งเดิม การคำนวณการเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ โดยใช้ฟิสิกส์ดั้งเดิมนั้นประสบความสำเร็จมาก จนกระทั่งนักฟิสิกส์เริ่มศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง มาก

ตอบข้อ 2. ความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88







คำ อธิบาย
จากโจทย์ u = 4.9 , g = 9.8 , v = 0(จุดสูงสุดv=0) , t = ?
มี u g v หา t
แต่ โยนขึ้น มัน มีทิศ ตรงข้ามกับแรงโน้มถ่วง g จะติด -

จาก v = u + gt
0 = 4.9 - 9.8t
-4.9 = -9.8t
t = 4.9/9.8
t = 0.5 วินาที

ตอบข้อ 1. 0.5 s

ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=6d2cdb15e2e38420



วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ข้อตกลงในการเรียนด้วย Social Media ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

1. เข้าศึกษาเว็บกลาง ม.5 ที่ http://m5term2debsamut.blogspot.com/
2. ปฏิบัติตามคำแนะนำในแต่ละคาบเวลาที่กำหนดไว้
3. ดำเนินกิจกรรมตามใบงานที่กำหนด
4. ส่งงานตามใบงานกำหนดให้เสร็จสมบูรณ์ตามเวลาที่กำหนด
5. บันทึก/Capture หน้างาน ส่งทางเมล์ทุกครั้งที่ทำงานแล้วเสร็จ
ม.5 ส่งที่ karnpitcha_jee@yahoo.co.th
6. ไฟล์ที่ส่งงาน ให้บันทึกวันที่ทำงานตามด้วย ห้องและเลขที่ของนักเรียน เช่น ปฏิบัติกิจกรรมวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ห้อง 5/3 เลขที่ 28 เป็นดังนี้ 1-11-2553-5328
7. ไม่รับงานที่ช้ากว่ากำหนด ยกเว้นมีเหตุจำเป็นจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ลำดับการส่งงานมีผลต่อคะแนนเก็บด้วย
8. ผู้ที่ขาดการส่งงานเกิน 3 ครั้งจะขอพบผู้ปกครองเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

สาระ วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต 2 รหัส ว 42282 ช่วงชั้นที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ระดับชั้น ม. 5
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายภาค
1. สืบค้นข้อมูล อภิปรายและอธิบายลักษณะและโครงสร้างของโลก
2. สำรวจ สืบค้นข้อมูล ทางด้านธรณีวิทยาในท้องถิ่น อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางธรณีภาค
3. สำรวจ ตรวจสอบ สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรณี ความสำคัญ ผลต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อมและการนำไปใช้ประโยชน์
4. สืบค้นข้อมูล และอธิบายการศึกษาประวัติทางธรณีจากซากดึกดำบรรพ์ การเปรียบเทียบลำดับชั้นหิน และอายุของหิน
5. สืบค้นข้อมูล และอธิบายการเกิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพ พลังงานของดาวฤกษ์ ที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น
6. สืบค้นข้อมูล และอธิบายเกี่ยวกับตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะและกาแล็กซี
7. สืบค้นข้อมูล และอธิบายเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศและโครงการอวกาศที่สำคัญ
8. สืบค้นข้อมูล และนำเสนอการใช้ประโยชน์ ของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศ ในการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ บนโลก ทำให้มีความรู้เกี่ยวกับอดีต และแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงลักษณะต่างๆบนโลก
9. ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการกระจัด เวลา ความเร็ว ความเร่งของการเคลื่อนที่ในแนวตรง
10. คำนวณหาปริมาณที่เกี่ยวข้องของการเคลื่อนที่ในแนวตรง
11. สำรวจ ตรวจสอบและอธิบายการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไตล์และการใช้ประโยชน์
12. สำรวจ ตรวจสอบและอธิบายการเคลื่อนที่แบบวงกลม และการใช้ประโยชน์
13. สำรวจ ตรวจสอบและอธิบายการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิก และการใช้ประโยชน์
14. สำรวจ ตรวจสอบ วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรง การเคลื่อนที่ของอนุภาคหรือวัตถุในสนามโน้มถ่วง และการนำไปใช้ประโยชน์
15. สำรวจ ตรวจสอบ วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรง การเคลื่อนที่ของอนุภาคหรือวัตถุในสนามไฟฟ้า รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์
16. สำรวจ ตรวจสอบ วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรง การเคลื่อนที่ของอนุภาคหรือวัตถุในสนามแม่เหล็ก และการนำไปใช้ประโยชน์